top of page

ผลการค้นหา

พบ 27 ผลลัพธ์เมื่อไม่ระบุค่าการค้นหา

  • 060666

    วันที่ 6 มิถุนายน 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ได้เปิดเผยว่า เนื่องในสัปดาห์วันวิสาขบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และองค์การสหประชาชาติ ( UN ) ได้รับรองให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก ตั่งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2542 เป็นต้นมา ที่เป็นความสำคัญคือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระธรรมทูต วัดพระธรรมกาย ร่วมกับ สมาคมชาวพุทธอินโดนีเซีย จัดงาน WAISAK NASIONAL LIGHT OF PEACE เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 จุดโคมประทีป 3,000 ดวง วันวิสาขบูชา หน้ามหาเจดีย์บุโรบุโด Borobudur อำเภอมาเกอลัง จังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย บรรยากาศงาน WAISAK NASIONAL LIGHT OF PEACE วันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่ เพื่อรำลึกถึงพระคุณอันไม่มีประมาณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเน้นในการสอนสมาธิเป็นหลัก ก่อนจุดโคมไฟภายนอก และจุดความสว่างภายใน ด้วยการเจริญสมาธิภาวนา โดยในปีนี้จัดตรงกับวันที่ 4 มิถุนายน ตามคำเชิญของสมาคมชาวพุทธชื่อ “Walubi” ซึ่งมีการปิดถนนให้ริ้วขบวนพาเหรดเดินผ่าน ระยะทางเกือบ 5 กิโลเมตร สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจชาวอินโดนีเซียหลายศาสนา เช่นศาสนาอิสลาม คริสต์ ฮินดู ฯลฯต่างมายืนริมถนนเพื่อคอยชมริ้วบวนพาเหรด ในวันสำคัญทางพระพุทธสาสนา วันวิสาขบูชา ตลอดเส้นทาง ซึ่งมีคณะสงฆ์จากประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ลาว และกัมพูชา เป็นต้นเข้าร่วมพิธี ซึ่งริ้วขบวนรถบุปผาชาติและสมาคมชาวพุทธ กว่า 20 องค์กร อัญเชิญ น้ำและไฟศักดิ์สิทธิ์ จากวัดเมนดุตไปยังมหาเจดีย์บรมพุทโธ ระยะทาง 4 กิโลเมตร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาภาคกลางคืนก็จะมีการนั่งสมาธิ ลอยโคมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งที่นี้จะทำร่วมกันทั้งมหายาน มหานิกาย ธรรมยุต เป็น “สังฆสามัคคี” พระครูธีรญาณวิเทศ เจ้าอาวาสวัดพุทธที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นพระภิกษุจากประเทศไทยที่มาอยู่ประเทศอินโดนีเซียมาเกือบ 15 ปีแล้ว ท่านเล่าว่า วัดไทยส่วนใหญ่ที่นี้เป็นวัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ส่วนของฝ่ายมหานิกายก็จะมีเพียงแต่วัดและศูนย์ปฎิบัติธรรมของวัดพระธรรมกาย 10 แห่งทั่วประเทศ คนมุสลิมและศาสนาอื่น ๆ ในประเทศอินโดนีเซียเป็นมิตรกับชาวพุทธมาก อย่างวันที่ 4 นี้เราจัดงานวิสาขบูชาที่ “บุโรพุทโธ” จะมีคนมุสลิม คนคริสต์ คนฮินดูมาร่วมด้วย หลังจากนั้นจะมีพระภิกษุและสมาคมต่าง ๆ ร่วมกันเจริญพระพุทธมนต์ ณ บริเวณเจดีย์บุโรพุทโธ พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี กล่าวเพิ่มว่า วัดพระธรรมกายได้จัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา ในวันวิสาขบูชา วันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีกิจกรรมงานบุญ 7 บุญใหญ่ ได้แก่ 1.พิธีตักบาตรพระ , 2.พิธีบูชาข้าวพระ , 3.พิธีอุปสมบทสามเณรอุทิศชีวิต 11 รูป , 4.พิธีหล่อพระประธาน เพื่อประดิษฐาน ณ ห้องแก้วสารพัดนึก2 , 5.พิธีจุดวิสาขประทีป , 6.พิธีเวียนประทักษิณ และ 7.พิธีฉลองชัยสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตนสูตร นอกจากนี้กิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาที่จัดขึ้น ณ วัดพระธรรมกาย ประเทศไทยแล้ว วัดพระธรรมกาย ร่วมกับองค์กรพุทธนานาชาติจัดงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ในต่างประเทศด้วย อาทิ ร่วมกับรัฐบาลเนปาล คณะกรรมการลุมพินี คณะสงฆ์เนปาล วัดไทยลุมพินี และคณะสงฆ์นานาชาติทุกนิกาย จัดสวดพระปริตร เดินธรรมยาตรา จุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ณ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประเทศเนปาล ร่วมกับคณะสงฆ์ ประเทศมาเลเซีย และ Dhammakaya meditation center of Selangor ประกอบพิธีสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรม และจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ร่วมกับชุมชนชาวพุทธในรัฐนิวเซาท์เวลส์ จัดงานฉลองวิสาขบูชานานาชาติ ‘THE AUSTRALIAN OBSERVANCE OF THE UNITED NATIONS DAY OF VESAK’ ณ วัด Phuoc Hue นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ร่วมจัดเทศกาลโคมดอกบัว (Lotus Lantern Festival 2023) เพื่อเฉลิมฉลองงานวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2566 เกาหลี ร่วมกับคณะรัฐบาล และชาวพุทธเวียดนาม จัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ณ วัดบาหว่าง ประเทศเวียดนาม ซึ่งชาวพุทธร่วมงานกว่า 60,000 คน และจัดงานวิสาขบูชามองโกเลีย ครั้งที่ 16 ด้วยการจุดประทีป 3,116 ดวง ถวายเป็นพุทธบูชา ณ ประเทศมองโกเลีย เป็นต้น วันวิสาขบูชาจึงเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกพร้อมใจกันตามระลึกและน้อมบูชาพระพุทธคุณอันยิ่งใหญ่ด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา ตามหลักทาน ศีล ภาวนา เพื่อสั่งสมบุญบารมี ตามรอยบาทพระองค์ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสอนให้รักสรรพสัตว์ทั้งหลาย กล่าวคือ ทรงสอนให้ไม่ฆ่าสัตว์ ให้รู้จักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เหตุผลสำคัญ อีกประการหนึ่งคือ พระองค์ทรงเปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนให้ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์ และไปสู่ความสุขอันเป็นนิรันดร์ คือ นิพพาน. ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal )

  • 030666

    เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 3 มิถุนายน 2566 ที่พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์ วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พระวัดพระธรรมกายและศิษยานุศิษย์ร่วมกันจุดวิสาขประทีป และจุดประทีปแปรอักษรเป็นภาพ “ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน” และร่วมเวียนประทักษิณรอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ ต่อด้วยพิธีสวดธรรมจักรฉลองชัย ครบ 5,399,999,999 จบ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา บูชาพระรัตนตรัย และมหาปูชนียาจารย์ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก บรรยากาศในพิธีจุดวิสาขประทีปในช่วงค่ำและเวียนประทักษิณ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาถือวาระโอกาสนี้ ร่วมกันสร้างภาพแห่งสันติให้บังเกิดขึ้น โดยผ่านพิธีกรรมอันสงบของวันวิสาขบูชาในปีนี้ พร้อมทั้งน้อมแสงประทีปของเปลวไฟเข้าไปส่องสว่างในกลางใจ ในขณะที่ทุกคนสวดสรรเสริญพระรัตนตรัยไปพร้อมกับใจที่ทำสมาธิภาวนา ด้วยปรารถนาที่จะส่งต่อแสงแห่งสันติภาพภายใน ให้ไปบังเกิดแก่ชาวโลกทุก ๆ คนพร้อมกัน เนื่องในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ แลปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยองค์การสหประชาชาติรับรองให้เป็น “วันสำคัญสากลของโลก” ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวล มนุษย์ทั้งหลายในโลก จะเห็นได้จากการยกเลิกแบ่งชนชั้นวรรณะ ซึ่งเท่ากับเป็นการเลิกทาสโดยไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ นอกจากนี้ พระองค์ทรงเปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธและทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณสอนโดยไม่คิดค่าตอบแทน พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย กล่าวว่า วัดพระธรรมกายได้จัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่อรำลึกถึงพระคุณอันไม่มีประมาณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีกิจกรรมงานบุญ 7 บุญใหญ่ ได้แก่ 1.พิธีตักบาตรพระ, 2.พิธีบูชาข้าวพระ, 3.พิธีอุปสมบทสามเณรอุทิศชีวิต 11 รูป, 4.พิธีหล่อพระประธาน เพื่อประดิษฐาน ณ ห้องแก้วสารพัดนึก 2, 5.พิธีจุดวิสาขประทีป, 6.พิธีเวียนประทักษิณ และ 7.พิธีฉลองชัยสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตนสูตร เพื่อให้พุทธศาสนนิกชนได้สั่งบุญต่อเนื่องตลอดวัน. ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal )

  • 030666

    เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ที่สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ชาวพุทธจำนวน 5,000 คน ร่วมบุญตักบาตรพระสงฆ์ 1,000 รูป เนื่องในวันวิสาขบูชา รำลึกวันกำเนิดพระพุทธศาสนา วันสำคัญสากลของโลก พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร กล่าวว่า เนื่องในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ แลปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้ง องค์การสหประชาชาติรับรองให้เป็น “วันสำคัญสากลของโลก” วัดพระธรรมกายจึงจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่อรำลึกถึงพระคุณอันไม่มีประมาณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีกิจกรรมงานบุญ 7 บุญใหญ่ เพื่อให้พุทธศาสนนิกชนได้สั่งบุญต่อเนื่องตลอดวัน ภาคเช้า ประกอบพิธีตักบาตรพระกว่า 1,000 รูป ณ บ้านแก้วเรือนทองคุณยายอาจารย์ ฯ ภาคสาย ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ และประกอบพิธีบูชาข้าวพระ จากนั้น พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกล่าวคำถวายองค์พระประธาน และถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน ภาคบ่าย เป็นพิธีอุปสมบทอุทิศชีวิตของสามเณรเปรียญธรรม จำนวน 11 รูป ณ อุโบสถพระไตรปิฎก ต่อด้วยพิธีหล่อพระประธาน เพื่อประดิษฐาน ณ ห้องแก้วสารพัดนึก 2 สภาธรรมกายสากล จากนั้น ภาคเย็นเป็นพิธีจุดวิสาขประทีป และจุดประทีปแปรอักษรเป็นภาพ “ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน” ณ ลานธรรม พระมหาธรรมกายเจดีย์ และพิธีเวียนประทักษิณรอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ ต่อด้วยพิธีสวดธรรมจักรฉลองชัย ครบ 5,399,999,999 จบ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา บูชาพระรัตนตรัย และมหาปูชนียาจารย์ เนื่องในวันวิสาขบูชาด้วย “นอกจากนี้กิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาที่จัดขึ้น ณ วัดพระธรรมกาย ประเทศไทยแล้ว วัดพระธรรมกาย ร่วมกับองค์กรพุทธนานาชาติจัดงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ในต่างประเทศด้วย อาทิ ร่วมกับรัฐบาลเนปาล คณะกรรมการลุมพินี คณะสงฆ์เนปาล วัดไทยลุมพินี และคณะสงฆ์นานาชาติทุกนิกาย จัดสวดพระปริตร เดินธรรมยาตรา จุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ณ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประเทศเนปาล ร่วมกับคณะสงฆ์ ประเทศมาเลเซีย และ Dhammakaya meditation center of Selangor ประกอบพิธีสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรม และจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ร่วมกับชุมชนชาวพุทธในรัฐนิวเซาท์เวลส์ จัดงานฉลองวิสาขบูชานานาชาติ ‘THE AUSTRALIAN OBSERVANCE OF THE UNITED NATIONS DAY OF VESAK’ ณ วัด Phuoc Hue นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ร่วมจัดเทศกาลโคมดอกบัว (Lotus Lantern Festival 2023) เพื่อเฉลิมฉลองงานวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2566 เกาหลี ร่วมกับคณะรัฐบาล และชาวพุทธเวียดนาม จัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ณ วัดบาหว่าง ประเทศเวียดนาม ซึ่งชาวพุทธร่วมงานกว่า 60,000 คน ร่วมรัฐบาลอินโดนีเซีย จัดงาน WAISAK NASIONAL LIGHT OF PEACE พิธีจุดโคมประทีป วันวิสาขบูชา ณ มหาเจดีย์บรมพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย และจัดงานวิสาขบูชามองโกเลีย ครั้งที่ 16 ด้วยการจุดประทีป 3,116 ดวง ถวายเป็นพุทธบูชา ณ ประเทศมองโกเลีย เป็นต้น” พระครูสมุห์สนิทวงศ์กล่าว. ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal )

  • 010666

    พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฒิวังโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า องค์การสหประชาชาติ (UN) ยกย่องให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลโลก เนื่องจากคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นความดีสากล ที่ทุกคนปฏิบัติได้ เช่น ความรัก ความเมตตา กรุณา ความปรารถนาดี ให้อภัย ซึ่งสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และปรัชญาการทำงานของ UN ดังนั้น UN จึงยกย่องและสนับสนุนให้กับคำสอนดีๆ สู่ชาวโลก เพื่อนำมาซึ่งสันติสุขและสันติภาพโลก และในโอกาสสัปดาห์วิสาขบูชานี้ กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐอุซเบกิสถานประจำประเทศไทย แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ได้จัดประชุมเสวนา เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของ 2 ชาติ ทั้งชาวไทยและอุซเบกิสถาน สถานกงสุลอุซเบกิสถานในไทย นำโดย นายเฟดดริกคิน โซมานอฟ กงสุลใหญ่อุซเบกิสถานประจำประเทศไทย จัดงานวิสาขบูชา ณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร โดย เป็นการสัมมนา เรื่อง ความงดงามพุทธศาสนาในอุซเบกิสถาน เริ่มจากการกล่าวต้อนรับโดย นายเฟดดริกคิน โซมานอฟ กงสุลใหญ่อุซเบกิสถานประจำประเทศไทย พร้อมทั้งกล่าวถึงความสำคัญเนื่องในวันวิสาขบูชา อันเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า รวมถึงเชิญชวนให้ทุกคน ได้เยี่ยมชมพุทธสถานหลายแห่งใน อุซเบกิสถาน โดยมีการนำเสนอเรื่องราวของอารยธรรมพุทธศาสนาในอุซเบกิสถาน ซึ่งถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะ สถูป ใน Fayaz-Tepe แหล่งโบราณคดีพุทธในภูมิภาคเอเชียกลาง ซึ่งสร้างเมื่อ 2,000 กว่าปีที่แล้ว และรูปทรงคล้ายคลึงกับ พระมหาธรรมกายเจดีย์ ณ วัดพระธรรมกาย ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ความรู้เกี่ยวกับ “อุซเบกิสถาน” ส่วนใหญ่มาจากเรื่องราวของ เอเชียกลาง เส้นทางสายไหม ศิลปะคันธาระ พระเจ้ากณิษกะ พระพุทธศาสนา และ สถูปทรงครึ่งวงกลม ที่ดูเด่นสะดุดสายตาชาวโลก การที่ทางกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐอุซเบกิสถานประจำประเทศไทย ได้จัดเสวนาในครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมเศรษฐกิจ วัฒนธรรมการท่องเที่ยว และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างประเทศไทยและอุซเบกิสถาน รวมทั้ง ชาวพุทธทั่วโลกที่จะได้เดินทางไปเยี่ยมเยืยนพุทธสถานโบราณ และศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป ในงานมีวิทยากรให้ความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์หลายท่านอาทิ พระ ดร.พรชัย พลวธมฺโม ประธานองค์การพุทธโลก ที่ได้นำเสนอประสบการณ์ที่เคยเดินทางเยือน อุซเบกิสถาน เมื่อ 4 ปีก่อน และได้เยี่ยมชม พุทธสถานหลายแห่ง พร้อมได้นำเสนอ ให้หน่วยงานรัฐบาล ได้ประชาสัมพันธ์ ดูแล พุทธสถาน ให้เป็นสมบัติของชาติ ที่ทุกๆคนมีความเป็นเจ้าของ เพื่อดึงดูด นักท่องเที่ยวทั่วโลก เหมือน เจดีย์บรมพุทโธของอินโดนีเซีย ที่ทุกคนในชาติ ถือเป็นแหล่งอารยธรรมของประเทศ เป็นสมบัติของชาติ ซึ่งปัจจุบัน ผู้ที่มาบรมพุทโธ กว่า 70% ไม่ใช่พุทธศาสนิกชน จากนั้น เป็นการบรรยายให้ความรู้ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน อาทิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุกันดาย่า ในประเด็นศักยภาพในการท่องเที่ยวแสวงบุญ ใน จ. สุกันดาย่า , ผู้แทนหน่วยงาน มรดกทางวัฒนธรรมอุซเบกิสถาน ในประเด็น การฟื้นฟู ,การขุดค้น และการอนุรักษ์ มรดกทางพระพุทธศาสนา, ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวอุซเบกิสถาน ในประเด็น อุซเบกิสถาน ทางแยกแห่งอารยธรรม , ผู้แทนกรมศิลปากร ประเทศไทย ในประเด็นของ ความร่วมมือในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ , ผู้แทนมหาวิทยาลัยทาชเค้นท์ ในอุซเบกิสถานในประเด็น เทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว , ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในประเด็นของ นวัตกรรม ผ่านการเชื่อมความหลากหลายของอารยธรรม , ผู้แทนพิพิธภัณฑ์โบราณคดีในเตอร์เมซ ในประเด็น ความร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ในประเทศไทย เป็นต้น อุซเบกิสถาน เป็นประเทศหนึ่งในเอเชียกลาง และในเส้นทางสายไหม พุทธศาสนาเคยเจริญรุ่งเรืองมาก ในยุคของราชวงศ์กุษาณะ พระถังซำจั๋ง ได้บันทึกถึงความศรัทธาของกษัตริย์ ความรุ่งเรืองแห่งพุทธศาสนา ในดินแดนแห่งนี้ ปัจจุบันพบพุทธสถาน หลายแห่ง โดยเฉพาะ เมืองเตเมซ เมืองสมากานด์ และ จังหวัดสุกันดาย่า ในปัจจุบัน อุซเบกิสถาน จึงเปิดประเทศสู่การท่องเที่ยวเชิงพุทธ ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวชาวจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย เริ่มให้ความสนใจและไปท่องเที่ยวตามแหล่งอารยธรรมพุทธสถานโบราณ ซึ่งถือเป็น มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางพระพุทธศาสนา (Buddhist Heritage) ที่สำคัญเป็นจำนวนมาก. ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal )

  • 290566

    วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ได้เปิดเผยว่า วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย และกัลยาณมิตรทั่วทั้งโลก ร่วมกับ คณะสงฆ์จังหวัดสงขลาหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนจังหวัดสงขลา จัดพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์จากเหตุการณ์ความไม่สงบ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา) ปีที่ 19 ครั้งที่ 162 และพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ปีที่ 16 ครั้งที่ 127 จำนวน 138 กองทุน เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมภาคใต้ อำเภอบางกล่ำ จ.สงขลา พร้อมถ่ายทอดออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM, FACEBOOK LIVE และ YouTube มีพุทธศาสนิกชนทั้งในและต่างประเทศร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก บรรยากาศในช่วงเช้าเป็นพิธีตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ภาคสายเป็นพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ปีที่ 16 ครั้งที่ 127 พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีที่ 19 ครั้งที่ 162 โดยได้รับความเมตตาจากพระครูสุวัฒนาภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสงขลา วัดนาทวี เป็นประธานสงฆ์ นายุวัติ ทองเพชรจันทร์ นายอำเภอบางกล่ำ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานฝ่ายฆราวาส ต่อด้วยพระภาวนาธรรมวิเทศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและผู้แทนกัลยาณมิตรทั่วทั้งโลกกล่าวความในใจ และเปิดวีดีโอประมวลภาพทบทวนงานฟื้นฟูศีลธรรมโลก ต่อด้วยพิธีมอบเครื่องอุปโภคบริโภค แก่ทหาร ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นสาธารณสงเคราะห์ พระครูสุวัฒนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดนาทวี รองเจ้าคณะจังหวัดสงขลา กล่าวว่า “แต่ก่อนเรามีวิชาพระพุทธศาสนาเป็นหลักให้นักเรียนได้เรียน แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นวิชารอง ทำให้ขาดรากเหง้า ที่จะรักษาประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงาม ที่ชายแดนใต้เราอยู่ด้วยความเอื้ออาทร อยู่แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทั้งพี่น้องไทยพุทธพี่น้องมุสลิม เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม การที่วัดพระธรรมกายและกัลยาณมิตรมาช่วยครั้งนี้และช่วยมาหลายสิบปีก็ขออนุโมทนากับวัดพระธรรมกายและญาติโยมกัลยาณมิตรทุกท่าน ที่ให้ความสำคัญต่อภิกษุสามเณรที่อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัด 4 อำเภอภาคใต้ คือนิมนต์รับถวายสังฆทานบ้าง ช่วยเหลือในช่วงทอดกฐินบ้าง ทางวัดพระธรรมกายและกัลยาณมิตรไม่เคยทอดทิ้งกัน” ทั้งนี้พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์จากเหตุการณ์ความไม่สงบ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ณ วัดมุจลินทวาปีวิหาร จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันจัดติดต่อกันเป็นปีที่ 19 ครั้งที่ 162 และจะจัดอย่างต่อเนื่องจนกว่าเหตุการณ์จะสงบ ส่วนกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ รวม 16 ปี มอบแล้ว 39,461 กองทุน เป็นเงินกว่า 80 ล้านบาท รวมความช่วยเหลือทั้งสิ้นกว่า 387 ล้านบาท. ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal )

  • 240566

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ชาวพุทธเวียดนามได้เฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก โดยมี ประมุขสงฆ์ 4 นิกายทั่วโลก เถรวาท มหายาน วัชรยาน และอันนัมนิกาย ร่วมถึงประเทศไทย พร้อมผู้นำองค์กรพุทธกว่า 10 ประเทศ และชาวพุทธนานาชาติ ร่วมงานกว่า 60,000 คน นำโดยพระธรรมาจารย์ ทิช จุ๊ก ไท้ มินห์ เจ้าอาวาสวัดบาหว่าง รองประธานกำกับดูกิจการต่างประเทศ และรองโฆษกประจำสมัชชาสงฆ์แห่งชาติ ร่วมกับคณะรัฐบาล และชาวพุทธเวียดนาม ร่วมจัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ระหว่างวันที่ 20 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ วัดบาหว่าง (Ba Vang Pagoda) จังหวัดกว๋างนิญ ประเทศเวียดนาม เพื่อระลึกถึงความสำคัญในการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเฉลิมฉลองเนื่องในวาระที่องค์การสหประชาชาติประกาศยกย่องให้วันวิสาขบูชา เป็น วันสําคัญสากลของโลก หรือ International Day of Vesak ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal ) ภายในงานได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระสังฆราช, ประธานสงฆ์, กรรมการมหาเถรสมาคม, พระมหาเถระผู้บริหารการคณะสงฆ์ จากประเทศศรีลังกา, ลาว, บังกลาเทศ, เนปาล, เมียนมา, ภูฏาน, กัมพูชา, อินเดีย, เวียดนาม, สหรัฐอเมริกา และประเทศไทย รวมถึงสมเด็จพระสังฆราช, กรรมการบริหารสมัชชาสงฆ์แห่งชาติเวียดนาม (Vietnam Buddhist Sangha) ทัังมหายาน และเถรวาท คณะภิกษุณี กว่า 300 รูป อีกทั้ง คณะท่านทูตอินเดีย ท่านทูตศรีลังกา ท่านทูตสาธารณรัฐเช็กประเทศเวียดนาม ท่านทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และท่านทูตกัมพูชา ประจำประเทศเวียดนาม ร่วมงานครั้งนี้ด้วย นอกจากคณะสงฆ์เวียดนาม และนานาชาติ ด้านคณะสงฆ์จากวัดไทยในต่างประเทศ และในประเทศไทยร่วมงานอีกจำนวนมาก อาทิ พระเดชพระคุณ พระสุธีวราภรณ์ (ยุวชน เขมปญฺโญ ป.ธ.๖) เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท, พระเดชพระคุณพระศรีโพธิวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล, พระภาวนาธรรมวิเทศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย, พระวิเทศธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และประธานมูลนิธิธรรมกาย, พระครูวิบูลนิติธรรม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย, ร่วมถึงรัฐมนตรีกระทรวงศาสนา และวัฒนธรรม ประเทศกัมพูชา ก็ได้เมตตาเดินทางมาร่วมงานด้วย ทั้งนี้ ภายในงานมีพิธีฉลองเทศกาลวิสาขบูชา วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ทางวัดบาหว่าง ได้อาราธนาพระเดชพระคุณหลวงพ่อธรรมโสภณ มหาศรัทธาวีร์ ประธานมหาเถรสมาคมเนปาล มาเป็นตัวแทนคณะสงฆ์จากดินแดนประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการกล่าวเปิดงาน โดยมีพระภาวนาธรรมวิเทศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย นำสวดเจริญพระพุทธมนต์ สรรเสริญคุณของสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้ทำพิธีถวายพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์วัดบาหว่าง ส่วนวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 มีการจัดพิธีเปิดอาคารบรรยายธรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกบนภูเขา รับรองโดย World Record Association, พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ทั่วโลก, การแสดงของชาวพุทธ และเยาวชนร้องเพลงที่มีเนื้อหาจากพุทธพจน์ ธรรมะต่าง ๆ เช่น สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ฯลฯ เพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า, พิธีแห่อัญเชิญพุทธรูปปางประสูติและขบวนธรรมยาประจำปี ความยาวกว่า 8 กิโลเมตร, พิธีเวียนประทักษิณและจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชาโดยมีสาธุชนและเยาวชนร่วมงานเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการจัดงานได้ตัังโรงทานเลี้ยงประชาชนที่มาร่วมงานจำนวนมาก.

  • 220566

    วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า พุทธศาสนิกชนทั่วโลก 50 ประเทศ 20 นิกาย ร่วมเทศกาลโคมดอกบัว (Lotus Lantern Festival 2023) ฉลองวิสาขบูชาโลกที่เกาหลีใต้ โดยมี พระครูสิทธิรัตนวิเทศ เจ้าอาวาสวัดภาวนาโซล วัดไทยในสาธารณรัฐเกาหลี และคณะสงฆ์กว่า 30 รูป พร้อมทั้งสาธุชนตัวแทนประเทศไทยกว่า 100 ท่าน ได้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองงานวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2566 ตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยดงกุก มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาอันดับ 1 ของประเทศเกาหลีใต้ ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal ) เทศกาลโคมดอกบัว (Lotus Lantern Festival 2023) ฉลองวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ได้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2566 โดยองค์กรพุทธนานาชาติ ร่วมกับ วัดโจเกซาของเกาหลีใต้ บรรยากาศของงานเทศกาลมีพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลกมาร่วมพิธี งานได้เริ่มขึ้นในเวลาประมาณ 16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยดงกุก มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา อันดับ 1 ของเกาหลีใต้ โดยในงานได้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวพุทธในเกาหลีใต้ การสวดมนต์ และภาวนาร่วมกันเพื่อให้โลกมีความสงบสุข จากนั้น 18.00 น. ขบวนพาเหรดอัญเชิญโคมดอกบัว เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาของชาวพุทธทุกชาติทุกนิกายในเกาหลีใต้ได้เริ่มต้นขึ้น ในงานนี้ วัดภาวนาโซล ตัวแทนคณะสงฆ์ และชาวพุทธเถรวาทจากประเทศไทย คณะสงฆ์วัดพระธรรมกายจังหวัดปทุมธานี ได้ร่วมกันอัญเชิญเทวรถมีนามว่า “ทศพลญาณมงคลประพาส” ที่ประดิษฐานรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปางนั่งสมาธิ พร้อมทั้งโคมวิสาขประทีป เข้าร่วมในขบวนพาเหรดบริเวณใจกลางกรุงโซล ซึ่งเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของเทศกาลนี้ โดยขบวนเทวรถอัญเชิญพระประธาน และขบวนโคมดอกบัว ได้เดินไปสิ้นสุดที่วัดโจ เก ซา ซึ่งเป็นวัดสำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ประเทศเกาหลีใต้ รวมระยะทางทั้งสิ้น 4.5 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางได้รับความสนใจจากประชาชนนับหมื่นคน ส่วนในวันอาทิตยที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา วัดภาวนาโซล ได้ร่วมจัดกิจกรรมนิทรรศการพระพุทธศาสนา ตั้งแต่เวลา 10.00 น. - 18.00 น. โดยได้เปิดบูธแนะนำการฝึกสมาธิเบื้องต้น และให้ประชาชนชาวต่างชาติที่มาร่วมงานเทศกาลได้ทดลองฝึกการปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิ รวมถึงแนะนำวัฒนธรรมชาวพุทธ การสรงน้ำพระ การร้อยพวงมาลัยบูชาพระ โดยได้รับความสนใจจากชาวพุทธ ชาวท้องถิ่น ชาวต่างชาติ ทั้งเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก สำหรับเทศกาลโคมไฟดอกบัวเป็นวัฒนธรรมที่สวยงามได้ดึงดูดความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วโลก ร่วมประดิษฐ์โคมโดยผู้เข้าร่วมงานเทศกาลนี้ จะเขียนข้อความลงบนโคมไฟเพื่อขอพรให้ตนเอง ครอบครัว เพื่อนบ้าน และสังคมมีความสุขความเจริญ โคมไฟดอกบัวนับพันพร้อมด้วยคำอวยพรเหล่านี้จะกลายเป็นคลื่นแห่งความปรารถนาถึงสันติภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา เป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพชีวิต อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิต โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง เป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน.

  • 210566

    สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยมอบทุนนศ.พุทธศาสนศึกษา ม.โอทาโก้ ประเทศนิวซีแลนด์ วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) แห่งประเทศนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มอบทุนนักศึกษารายวิชาพุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยโอทาโก้ ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการกว่า 16 ปี ระหว่างมูลนิธิ 60 ปี ธรรมชัยเพื่อการศึกษา-สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) แห่งประเทศนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย และหลักสูตรศาสนวิทยา คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยโอทาโก้ ประเทศนิวซีแลนด์ ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal ) โดยมี พระปลัดทอง กตทีโป เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายนครโอ๊คแลนด์ ตัวแทนพระมหาสุธรรม สุรตโน (ป.ธ.9, ดร.) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย และศาสตราจารย์ ดร. วิลล์ สวีตแมน คณบดีคณะสังคมวิทยา พร้อมทั้งคณาจารย์ในหลักสูตรศาสนวิทยา ได้จัดพิธีมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่ทำคะแนนได้ในระดับยอดเยี่ยมในแต่ละรายวิชาที่เกี่ยวกับพุทธศาสนศึกษา เช่น วิชาความรู้เบื้องต้นของพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู วิชาพุทธศาสนาแบบเซน วิชาพุทธศาสนามหายาน และวิชาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนา,รัฐ, และสังคม ทางด้าน พระปลัดทอง กตทีโป เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายนครโอ๊คแลนด์ กล่าวว่า ในแต่ปีจะมีนักเรียนผู้ที่สนใจจำนวนไม่น้อยมาลงทะเบียนเรียนหลักสูตรศาสนวิทยา ยกตัวอย่างเช่น ในวิชาความรู้เบื้องต้นของพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูจะมีจำนวนนักเรียนเฉลี่ย 70 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละปี แสดงถึงความสนใจในพระพุทธศาสนาของเยาวชนชาวท้องถิ่นการมอบทุนครั้งนี้ก็เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง เป็นการเชื่อมสัมพันธ์นักศึกษานานาชาติ เจริญสติ นั่งสมาธิ ศึกษาพระพุทธศาสนา สำหรับสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) มีจุดเริ่มต้นสําคัญที่จะสร้างความเข้าใจในหมู่ชาวพุทธเกี่ยวกับความสําคัญของการศึกษาคัมภีร์พระพุทธศาสนาภาษาคานธารี ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนาทุก ๆ นิกายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และที่สําคัญยังเป็นจุดศูนย์กลางในการค้นหาหลักฐานที่เชื่อมโยงถึงวิชชาธรรมกายในคัมภีร์พุทธ ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบบนโลกใบนี้ อันจะเป็นประจักษ์พยานแห่งการมีอยู่ของพระธรรมกายในดินแดนพระพุทธศาสนาโบราณที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีตกาล นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางในการแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่มีการศึกษาค้นคว้าออกมาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแผ่ให้เป็นที่รู้จัก ประกอบไปด้วยหนังสือ ตำรา เอกสาร วารสาร งานวิจัยและสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ.

  • 200566Dhamma

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร. ได้เปิดเผยว่า ได้นำเสนอผลงานวิจัยดุษฎีนิพนธ์ หัวข้อ “อนาคตภาพการขับเคลื่อนเครือข่ายองค์กรพุทธนานาชาติเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน” (THE SCENARIO OF INTERNATIONAL BUDDHIST ORGANIZATION NETWORK’S MOTION FOR THE SUSTAINABLE PROPAGATION OF BUDDHISM) ที่ มจร. วังน้อย จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 โดยมี พระเดชพระคุณพระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ. ดร. เป็นประธานกรรมการ และ ผศ. ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ เป็นกรรมการควบคุมดุษฎีนิพนธ์ และมีกรรมการคุมสอบป้องกันดุษฏีนิพนธ์ มีพระเดชพระคุณพระเมธาวินัยรส, รศ.ดร. เป็นประธานกรรมการ, ศ.ร.ท.ดร.บรรณจบ บรรณรุจิ และ แม่ชี ดร.นฤมล จิวัฒนาสุข เป็นกรรมการสอบ ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal ) ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบท ปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขององค์กรพุทธนานาชาติ ใน 10 ปี ข้างหน้า (พ.ศ. 2566-2575) และแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขององค์กรพุทธนานาชาติ เพื่อนำเสนออนาคตภาพการขับเคลื่อนเครือข่ายองค์กรพุทธนานาชาติเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) เป็นเทคนิควิจัยเชิงอนาคต กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญองค์กรพุทธนานาชาติ ในประเทศไทย 6 ท่าน องค์กรพุทธนานาชาติ ในต่างประเทศ 12 ท่าน และคณะกรรมการมหาเถรสมาคมแต่ละประเทศ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา 7 รูป/คน รวมผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูล จำนวน 25 รูป/คน ผลการศึกษาพบว่า การขับเคลื่อนเครือข่ายองค์กรพุทธนานาชาติ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนในอนาคตนั้น มีองค์ประกอบ 8 ฉากทัศน์ 40 แนวโน้ม ได้แก่ 1.กำหนดวิสัยทัศน์เผยแผ่เชิงรุก (Vision & Mission), 2.ใช้หลักธรรมเพื่อเผยแผ่เชิงรุก (Dhamma Cultivation), 3.เผยแผ่สอดคล้องบริบททางสังคม (Engage Buddhism), 4.พัฒนาสันติภายใน (Inner Peace), 5.พัฒนาจิตสำนึกและศักยภาพบุคลากร (Soul Development), 6.นวัตกรรมสื่อสารและเทคโนโลยี (Innovation & Communication), 7.ความร่วมมือเครือข่ายองค์กรพุทธ (Network Collaboration), และ 8.พัฒนาองค์กรเครือข่าย (Organization Development) โดยสรุปเป็นองค์ความรู้จากการวิจัยได้เป็น “Visioned of Buddhist Scenario” พระครูสมุห์สนิทวงศ์ กล่าวว่า “ขอกราบขอบพระคุณคณะกรรมการบริหารงานวัดพระธรรมกาย ที่อนุมัติให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก และขอกราบขอบพระคุณหลักสูตรสันติศึกษา มจร. ที่เปิดรับให้เข้ามาศึกษาดังกล่าว ทำให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำผลงานวิจัย ทั้งนี้ได้มีโอกาสศึกษาสภาพการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในปัจจุบัน พบว่าจำนวนพระภิกษุสามเณร ลดลงจาก 3.3 แสน ในปี 2561 เหลือ 2.5 แสน ในปี 2563 ประกอบกับภัยศาสนาที่เจอทั้งข่าวร้าย (Bad News) และข่าวเท็จ (Fake News) รวมทั้งสถานการณ์โลกที่ต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บ ภัยสงคราม" ภัยธรรมชาติ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ กระทบต่องานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งโลก ให้ชะลอตัว หรือหยุดชะงัก” และในอนาคตองค์กรพุทธของแต่ละประเทศ จะทำงานเผยแผ่เชิงรุกมีแนวโน้มเป็นอย่างไร” “จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและเก็บข้อมูล กับผู้เชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาและผู้บริหารองค์กรพุทธ ทั้งมหายาน วัชรยาน และเถรวาท จำนวน 25 รูป/คน จาก 13 ประเทศ โดยใช้เทคนิควิจัยเชิงอนาคต EDFR พบว่า องค์กรพุทธฯต้องมีวิสัยทัศน์ในการเผยแผ่เชิงรุกร่วมกัน ดำเนินตามหลักโอวาทปาติโมกข์ อปริหานิยธรรม เมตตา กรุณา ให้อภัย สามัคคีทำงานเครือข่ายเป็นทีม เรียกว่า “ทีมพระพุทธศาสนา” โดยคำนึงบริบททางสังคม “รู้ร้อนรู้หนาวกับโลก” ใช้ธรรมะแก้ปัญหาชีวิตประจำวันได้ พูดภาษาเดียวกับเขา และพัฒนาบุคคลากร ทั้งศึกษาและปฏิบัติ พัฒนาศักยภาพด้านภาษา เทคโนโลยี IT ใช้แพลตฟอร์มสื่อสังคมในการเผยแผ่ เพื่อให้ตนเองเกิดสันติภายใน และสามารถนำธรรมะของพระพุทธเจ้าไปสู่ใจชาวโลก สอดคล้องกับคำขวัญที่ว่า “สันติภาพภายนอก เริ่มต้นจากสันติสุขภายใน” หรือ World Peace through Inner Peace นั่นเอง ถ้าเป็นเช่นนี้ พระพุทธศาสนาก็ยังคงที่พึ่งให้กับชาวโลกต่อไปได้” พระเดชพระคุณพระเมธาวินัยรส กรรมการคุมสอบกล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยทุ่มเทตั้งใจในการทำอย่างดี ขอชื่นชมและขอเชิดชูผลงานนี้เป็นประโยชน์กับพระพุทธศาสนา ด้าน ศ.ร.ท.ดร.บรรณจบ บรรณรุจิ กรรมการคุมสอบดุษฏีนิพนธ์ กล่าวชื่นชมงานดุษฎีนิพนธ์นี้ว่า ทำด้วยความวิริยะอุตสาหะ ตัวผู้วิจัยถือว่าเป็นจุดแข็งในการวิจัยสามารถประสานเครือข่ายต่างๆ ได้ ผลวิจัยสามารถทำให้องค์กรพุทธสามารถทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศ และจะเป็นแรงบันดาลให้วัดต่างๆ ทำงานเผยแผ่เชิงรุกเช่นเดียวกัน และ ผศ. ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ กรรมการควบคุมดุษฎีนิพนธ์ กล่าวว่า งานดุษฎีนิพนธ์นี้ ถือเป็นความภาคภูมิใจของหลักสูตร เนื่องจากพระครูสมุห์สนิทวงศ์ เป็นนิสิตตั้งแต่ปริญญาโทของสันติศึกษา และมาต่อยอดศึกษาในระดับปริญญาเอก เป็นนิสิตที่สามารถปรับตัวและขยายโลกทัศน์ของตนเอง เพื่อรองรับสิ่งใหม่ๆ สำหรับดุษฎีนิพนธ์ หัวข้อ อนาคตภาพการเผยแผ่ฯ ถือเป็นแนวโน้มและแนวทางความร่วมมือของเครืออข่ายองค์กรที่ทำงานเชิงรุกเพื่องานเผยแผ่อย่างมีนัยสำคัญต่อวงการพระพุทธศาสนา.

  • 180566WatPhraDhammakaya

    สำนักศาสนศึกษาวัดพระธรรมกายปฐมนิเทศเปิดเรียนบาลีนักธรรมภาษาต่างประเทศ วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 พระมหาสุธรรม สุรตโน ป.ธ.9,ดร., ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย พระอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย เป็นประธานในพิธีปฐมนิเทศ เปิดเรียนบาลี-นักธรรม วิชาพื้นฐาน และ ภาษาต่างประเทศ ในการนี้ได้มอบหนังสือเรียนบาลี-นักธรรม และอุปกรณ์การเรียนแด่นักเรียน พร้อมกล่าวให้โอวาท เพื่อเป็นกำลังใจแก่คณะครูอาจารย์ และนักเรียน ณ ห้องปฏิบัติธรรมค่ายจองแชมป์ หมู่กุฏิสามเณรเปรียญธรรม วัดพระธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal ) สำหรับการเรียนพระปริยัติธรรมคือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นคำสอนทรงคุณค่า เพราะเป็นทางดำเนินไปเพื่อเข้าถึงการดับทุกข์ของสัพพสัตว์ พุทธบริษัทได้ศึกษาเล่าเรียน ทรงจำไว้ และนำมาใช้ในการฝึกฝนอบรมตนเอง อีกทั้งยังได้เผยแผ่สั่งสอนสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาพระปริยัติธรรม โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย โดยอุปถัมภ์ของหลวงพ่อธัมมชโย และหลวงพ่อทัตตชีโว จึงได้จัดให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้ง 2 แผนก คือ นักธรรม และภาษาบาลี มาเป็นระยะเวลาถึง 36 ปี ได้มีศาสนทายาท ผู้มีความรู้ความสามารถไว้ในพระพุทธศาสนาทั้งนี้โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย ยังได้จัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานและภาษาต่างประเทศ เช่นวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิชาภาษาจีน เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความสามารถ พัฒนาตนเอง เพื่อรองรับงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกายในอนาคต สำนักเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2528 โดยดำริของหลวงพ่อธัมมชโย เพื่อส่งเสริมการศึกษาพระบาลีของพระภิกษุสามเณร จนถึงปัจจุบันมีผู้สอบผ่านบาลีสนามหลวง เปรียญธรรม 9 ประโยค จากสำนักเรียนวัดพระธรรมกาย พระภิกษุ-สามเณร 102 รูป อุบาสกอุบาสิกา 9 คน รวม 111 รูปและท่าน.

  • 180566

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ร่วมประชุมองค์การพระธรรมทูตโลก (World Buddhist Dhammaduta Organisation, WBDO) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา ที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการซันเทค ประเทศสิงคโปร์ ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal ) โดยมีวัดอนันทเมตยาราม ประเทศสิงคโปร์ เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมองค์การพระธรรมทูตโลก ภายในการประชุมจัดให้มีการสาธยายพระไตรปิฎกร่วมกับชาวพุทธนานาชาติ พิธีถวายมหาสังฆทานนานาชาติ (International Sangha Dana) แด่พระสงฆ์ทั้งเถรวาทและมหายาน จำนวนกว่า 300 รูป ทั่วโลก การนี้ พระครูภาวนากิจวิเทศ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายสิงคโปร์ และ พระมหารณภพ โชติลาโภ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายลอนดอน พระธรรมทูตจากวัดพระธรรมกายจังหวัดปทุมธานี พร้อมคณะพระธรรมทูตวัดพระธรรมกายในต่างประเทศจาก 4 ทวีป ได้แก่ ยุโรป เอเชีย อเมริกา และโอเชียเนียกลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ร่วมประชุมและมีการเสวนาวิชาการทางพระพุทธศาสนาถาม-ตอบ ร่วมกันคิดและพัฒนาแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเชิงรุกร่วมกับพุทธศาสนิกชนในประเทศสิงคโปร์และนานาชาติ นอกจากนี้ยังจัดพิธีทำบุญอายุวัฒนมงคล 94 ปี พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระเทพสิทธิวิเทศ (สุจินต์ โชติปัญโญ) ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสิงคโปร์ เจ้าอาวาสวัดอนันทเมตยาราม ซึ่งเป็นวัดไทยแห่งแรกในประเทศสิงคโปร์ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2463 มีอายุราวร้อยปี พิธีเจริญพระพุทธมนต์บูชาสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว The Buddha Tooth Relic Temple and Museum ซึ่งเป็นวัดจีนมหายานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุเขี้ยวแก้วด้านซ้าย ที่นำมาจากเมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย.

  • 170566

    วัดพระธรรมกายส่งพระธรรมทูต สานสัมพันธ์ชาวพุทธนานาชาติร่วมงานวันวิสาขบูชาหลายประเทศทั่วโลก วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก วัดพระธรรมกาย ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมทั่วโลก และองค์กรพุทธนานาชาติ จัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2566 สำหรับกิจกรรมที่วัดพระธรรมกายจัดให้มีพิธีสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม หล่อพระประธาน และอุปสมบทอุทิศชีวิตสามเณร 11 รูป ในวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal ) “เพื่อเป็นการระลึกถึงพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ มหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมวัดพระธรรมกายในต่างประเทศจึงร่วมกับองค์กรพุทธนานาชาติ จัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก อาทิ ร่วมกับองค์กรสหภาพพระธรรมทูตในทวีปยุโรป (ส.ธ.ย.) คณะผู้แทนถาวรศรีลังกาประจำสหประชาติ คณะผู้แทนไทยประจำสหประชาชาติ สวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา อธิษฐานจิตให้โลกเกิดสันติภาพ ณ สำนักงานองค์การสหประชาชาติ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ร่วมกับรัฐบาลเนปาล คณะกรรมการลุมพินี คณะสงฆ์เนปาล วัดไทยลุมพินี และคณะสงฆ์นานาชาติทุกนิกาย จัดสวดพระปริตร เดินธรรมยาตรา จุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ณ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประเทศเนปาล ร่วมกับคณะสงฆ์ ประเทศมาเลเซีย และ Dhammakaya meditation center of Selangor ประกอบพิธีสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรม และจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ร่วมกับชุมชนชาวพุทธในรัฐนิวเซาท์เวลส์ จัดงานฉลองวิสาขบูชานานาชาติ ‘THE AUSTRALIAN OBSERVANCE OF THE UNITED NATIONS DAY OF VESAK’ ณ วัด Phuoc Hue นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มีผู้ร่วมงานกว่า 500 คน”พระครูสมุห์สนิทวงศ์ กล่าว นอกจากนี้วัดพระธรรมกายส่งพระธรรมทูตสานสัมพันธ์ชาวพุทธนานาชาติร่วมงานวันวิสาขบูชา ส่งเสริมพระพุทธศาสนาอีกในหลายประเทศ อาทิ ประเทศเกาหลีใต้ องค์กรพุทธนานาชาติกว่า 50 ประเทศ 20 นิกาย ร่วมกับวัดโจเกซา (มหายาน) จัดเทศกาลโคมดอกบัว (Lotus Lantern Festival ) เพื่อเฉลิมฉลองงานวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2566 ในวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เกาหลีใต้ กิจกรรมประกอบด้วยจัดขบวนอัญเชิญโคมวิสาขบูชาผ่านใจกลางกรุงโชล โดยมีพิธีเปิดและเริ่มตั้งขบวนที่มหาวิทยาลัยดงกุก ผ่านสถานที่สำคัญใจกลางกรุงโซลอาทิ ประตูทงแดมุน (ประตูเมืองเก่า) และกำแพงเมืองโซล เลี้ยวซ้ายเข้าถนนจงโน เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตรจนถึงวัดโจเกซา รวมระยะทาง 4.5 กิโลเมตร วัดภาวนาโซลเป็นหนึ่งในตัวแทนประเทศไทยได้จัดขบวนรถ”ทสพลญาณมงคลประพาส” อัญเชิญพระประธาน “พระธรรมกายปางสมาธิ” เข้าร่วมงาน เริ่มด้วยการแปรแถวของขบวนส่งเสริมวัฒนธรรมในชุดไทยประยุกต์ 100 คน จากนั้นเป็นขบวนพระภิกษุจำนวน 50 รูป ถือโคมเทียนรูปดอกบัว ส่วนประเทศมองโกเลีย Peaceful Mind Foundation ร่วมกับวัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย วัดพระธรรมกายมองโกเลีย และWisdom power Foundation จัดวิสาขบูชาจุดประทีปแปรอักษร ครั้งที่ 16 ในวันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ Buddha Park หนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญของกรุงอูลานบาตอร์ประเทศมองโกเลีย ทางด้านประเทศอินโดนีเซีย จัด WAISAK NASIONAL LIGHT OF PEACE พิธีจุดโคมประทีป วันวิสาขบูชา ณ มหาเจดีย์บุโรบุโด ในวันอาทิตย์ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 7.00-20.00 น. โดยมีกิจกรรม ขบวนรถบุปผชาติ อัญเชิญน้ำและไฟ ศักดิ์สิทธิ์ พิธีเจริญมนต์ นำนั่งสมาธิ ลั่นฆ้องวิสาขบูชา พรมน้ำพุทธมนต์ พิธี Dharma santi พิธีลอยโคมถวายพุทธบูชา ณ มหาเจดีย์บรมพุทโธ.

©2023 โดย WENEWS ภูมิใจสร้างสรรค์โดย Wix.com

bottom of page