ผลการค้นหา
พบ 27 ผลลัพธ์เมื่อไม่ระบุค่าการค้นหา
- คณะสงฆ์นานาชาติทุกนิกายร่วมจุดวิสาขประทีป
วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ได้เปิดเผยว่า คณะสงฆ์วัดพระธรรมกาย พระครูวิบูลนิติธรรม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และศิษย์วัดพระธรรมกาย ร่วมงานวันวิสาขบูชานานาชาติ ที่ประเทศเนปาล วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาปีนี้ตรงกับวันที่ 3 มิถุนายน 2566 เพื่อน้อมรำลึกถึงการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา โดยมีรัฐบาลเนปาล นำโดยท่านนายกรัฐมนตรีปุษปกมล ทาหาล คณะรัฐมนตรีรวมถึงคณะกรรมการลุมพินี โดยร่วมมือของคณะสงฆ์เนปาล วัดไทยลุมพินี วัดพระธรรมกาย และคณะสงฆ์นานาชาติทุกนิกาย ได้จัดงานวันวิสาขบูชานานาชาติ วันสำคัญของโลก โดยมีพิธีจุดวิสาขประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประเทศเนปาล สำหรับบรรยากาศในพิธีมีคณะสงฆ์นานาชาติทุกนิกายสวดพระปริตรถวายเป็นพุทธบูชาหน้าเสาอโศกมหาราช วิหารมายาเทวี นำโดยประธานสงฆ์คือพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ดร. ไมตรี ศากยะ เจ้าอาวาสวัดอานันทกุฏิ ต่อด้วยการเดินธรรมยาตรานานาชาติรอบวิหารมายาเทวีไปยังแท่นไฟสันติภาพนิรันดร์ เพื่อจุดต่อไฟงานวิสาขประทีป นำขบวนธรรมยาตรานานาชาติ มีพระเดชพระคุณพระศรีโพธิวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยลุมพินี , พระครูวิบูลนิติธรรม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย , นายสุทัน กีรติ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและการบินพาณิชย์เนปาล พร้อมพุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมากร่วมพิธี จากนั้นคณะสงฆ์นานาชาติและพุทธศาสนิกชนจุดวิสาขประทีปถวายเป็นพุทธบูชาในช่วงค่ำ โดยมีพระเดชพระคุณพระศรีโพธิวิเทศ เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะกรรมการลุมพินี และพุทธศาสนิกชนร่วมปฏิบัติธรรม พร้อมสวดสรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เดินเวียนประทักษิณรอบวิหารมายาเทวี ถือเป็นงานพุทธสามัคคี ที่เหล่าพุทธบริษัทร่วมกันจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และน่าประทับใจกับผู้พบเห็น สำหรับความสำคัญของวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มนุษย์มีเมตตาธรรม ก่อเกิดสันติสุข มีศีลธรรมความสงบร่มเย็นมาสู่โลก คำว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะ (ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือนแปดสองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือนเจ็ด) “วันวิสาขบูชา” เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ และปรินิพพาน คือ ดับ ซึ่งเกิดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตรงกันทั้ง 3 คราว (แต่ต่างปีกัน) ได้แก่ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ เจ้าชายสิทธัตถะ “ประสูติ” ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี สำหรับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา เจ้าชายสิทธัตถะ “ตรัสรู้” เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ส่วน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง พระองค์ประกาศพระพุทธศาสนา และเผยแผ่ออกไปเป็นเวลา 45 ปี เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา จึงเสด็จ “ดับขันธปรินิพพาน” ในวันอังคาร ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ดังนั้นวันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพชีวิต อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิต. คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal
- อบรมบุคลากรงานเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ
วันที่ 13 พฤษภาคม 2566 พระเดชพระคุณพระวิเทศธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย ได้เปิดการอบรมโครงการเตรียมบุคลากรสำหรับงานเผยแผ่ต่างประเทศ รุ่นที่ 3 มุ่งหวังให้พระพุทธศาสนาเบ่งบานไกลในต่างแดน และการขยายสันติสุขด้วยพุทธธรรมไปสู่ชาวโลก เริ่มการอบรมตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมอาคาร 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง วัดพระธรรมกาย อำเภอคอลงหลวง จังหวัดปทุมธานี การอบรมบุคลากรงานเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์จุมพล ปุญฺญพโล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักเผยแผ่ หัวหน้าศูนย์ฝึกอบรมบุคลากร บรรยายในหัวข้อพุทธประวัติการเผยแผ่ การรักษาพระธรรมวินัยในต่างแดน และเป้าหมายการสร้างบารมี จากนั้นพระอาจารย์ศิเวษฐ์ จารุธมฺโม รองผู้อำนวยการสำนักต่างประเทศ บรรยายในหัวข้อ การเตรียมตัวก่อนเดินทาง และพระอาจารย์มงคล มงฺคโล ดร.พญ. เสริมสุข วิจารณ์สถิตย์ บรรยายหัวข้อเรื่องการดูแลสุขภาพ ในส่วนของพระอาจารย์ชัยยุทธ์ ชยวํโส หัวหน้าสำนักงานส่งเสริมศีลธรรมต่างประเทศ ได้กล่าวนำเข้าสู่กิจกรรมกลุ่มหัวข้อการเผยแผ่ในต่างประเทศ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเห็นภาพรวมการเผยแผ่ก่อนไปปฏิบัติหน้าที่จริง อาทิ บทบาทหน้าที่และการวางตัว ความสำคัญของความดีสากลต่องานเผยแผ่ การต้อนรับปฏิสันถารตามหลักคาราวะ 6 จากนั้นผู้แทนของภูมิภาคต่าง ๆ แบ่งปันประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศ พร้อมทั้งตอบข้อซักถามแก่ผู้ร่วมอบรม ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้กล่าวถึงการได้รับประโยชน์จากการอบรมวิทยากรทุกท่านเตรียมตัวมาอย่างดี และตั้งใจถ่ายทอดประสบการณ์ ทำให้สามารถช่วยเตรียมความพร้อมก่อนที่จะได้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่จริง รวมทั้งได้ตอกย้ำเรื่องการฝึกฝนอบรมตนเองตามพระธรรมวินัย รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายในประเทศนั้นๆ โดยไม่ลืมเป้าหมายในการสร้างบารมี และการขยายสันติสุขด้วยพุทธธรรมไปสู่ชาวโลก.
- ชาวพุทธในมาเลย์ร่วมกิจกรรมวิสาขบูชา
วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ได้เปิดเผยว่า คณะสงฆ์ พุทธศาสนิกชน มาเลเซียหลายหลายเชื้อชาติ เชื้อสายจีน อินเดีย ไทย พม่า จัดงานสัปดาห์วันวิสาขบูชา ด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ บูชาข้าวพระ ฟังธรรม จุดประทีปเวียนเทียนรอบองค์พระ ที่วัดพระธรรมกายกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในปัจจุบันการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียมีหลากหลายเชื้อชาติทั้งเชื้อสายชาวจีน ลังกา อินเดีย พม่า และไทย และมีวัดและสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์และเมืองปีนัง มีพระสงฆ์ไทยไปจำพรรษาอยู่ที่นั่นด้วย ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับสองในประเทศมาเลเซีย ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากร ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมของชาวพุทธไว้อย่างเหนียวแน่นทั้งการเข้าวัดฟังธรรม การอาราธนาศีลซึ่งวัดไทยในประเทศมาเลเซียยังได้ร่วมกันทำกิจกรรมการสอนภาษาไทย การอบรมค่ายพุทธบุตร และการบรรพชาสามเณรบวชพระ ทางคณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชน จึงได้การจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาในมาเลเซียเพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์พระพุทธศาสนาแก่เยาวชนชาวพุทธหลายเชื้อชาติที่มีจิตเลื่อมในในพระพุทธศาสนา โดยสาธุชนชาวมาเลเซียกว่า 200 คน ช่วยกันเตรียมอย่างประณีตสวยงาม และร่วมพิธีกรรมพร้อมกับ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี ผ่านเครือข่าย GBN , DMZ Zoom มีคณะสงฆ์ วัดพระธรรมกายกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และ Dhammakaya meditation center of Selangor ร่วมประกอบพิธีกรรมงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาในมาเลเซีย. คลิปจาก YouTube ช่อง News Normal
- ฉลองวิสาขบูชานานาชาติที่ออสเตรเลีย
วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ได้เปิดเผยว่า วัดพระธรรมกายซิดนีย์ และวัดพระธรรมกายเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ร่วมกับชุมชนชาวพุทธในรัฐนิวเซาท์เวลส์ จัดงานฉลองวิสาขบูชานานาชาติ ‘THE AUSTRALIAN OBSERVANCE OF THE UNITED NATIONS DAY OF VESAK’ เมื่อวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ วัด Phuoc Hue นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ภายในงานมีคณะสงฆ์ ภิกษุณี จากหลากหลายนิกาย ผู้แทนจากภาครัฐ และผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติ รวมถึงสาธุชนมาร่วมงานกว่า 500 ท่าน ร่วมตักบาตรอาหารแห้งแด่คณะสงฆ์ ภิกษุณี จากทุกชาติทุกนิกาย และเจริญสมาธิภาวนา สร้างความปลื้มปีติแก่ชุมชนชาวพุทธในประเทศออสเตรเลียเป็นอย่างยิ่ง พิธีเริ่มภาคเช้าเป็นการตักบาตรอาหารแห้งแด่คณะสงฆ์ ภิกษุณี จากทุกชาติทุกนิกาย จำนวน 100 รูป ภาคบ่าย ได้รับความเมตตาจากพระธรรมาจารย์ ทิก ฟลุ๊ก ตัน เจ้าอาวาสวัด Phuoc Hue, รองประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก และประธาน Buddhist Federation of Australia กล่าวต้อนรับคณะสงฆ์ ผู้แทนจากภาครัฐบาล และผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติ และสาธุชน จากนั้น นายคริส โบเว่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อ่านสาส์นอวยพรจากเลขาธิการสหประชาชาติ สาส์นจากนายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรเลีย สาส์นจากผู้นำฝ่ายค้าน และสาส์นจากผู้ว่าการรัฐนิวเซาท์เวลส์ พร้อมกล่าวแสดงความยินดีชื่นชม และเห็นความสำคัญของคำสอนในพุทธศาสนาที่มีต่อชุมชน ซึ่งจะทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกันด้วยความสงบและปรองดอง จากนั้น พระเดชพระคุณพระเทพสีลาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธรังษี นครซิดนีย์ นำคณะสงฆ์สวดมนต์เฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญของโลก ต่อด้วย พระครูภาวนาญาณวิเทศ (รณรวี รวิปโภ) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายเมลเบิร์น, กรรมการสหภาพพระธรรมฑูตไทยในโอเชียเนีย และรองประธาน Buddhist Federation of Australia นำคณะสงฆ์ และสาธุชน เจริญสมาธิภาวนา และถวายโคมประทีปเป็นพุทธบูชา ต่อด้วย พิธีถวายมหาสังฆทานถวายจตุไทยธรรมแด่คณะสงฆ์ และได้ถ่ายภาพประวัติศาสตร์ร่วมกัน การนี้ พระครูภาวนาญาณวิเทศ กล่าวว่า “ดวงประทีปเปรียบเสมือนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ส่องหนทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องทำให้ชีวิตมีคุณค่าและนำให้ไปสู่เป้าหมายชีวิตคือการบรรลุมรรคผลนิพพาน คำสอนของพระองค์ก็จะขจัดความมืดในใจคน คือความโลภ ความโกรธ ความไม่รู้ ให้แสงสว่างความอบอุ่น ความปลอดภัย และความสงบสุขในชีวิต ดังนั้น การจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชาจึงเป็นการประกาศคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และคำสอนของพระองค์ให้ประจักษ์แก่ชาวโลก เพื่อให้คนได้เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาสืบต่อไป”.
- ประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในญี่ปุ่น
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมชชาสงฆ์ไทยในญี่ปุ่น สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 8 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา และพิธีมอบตราตั้งเจ้าอาวาสวัดไทยในญี่ปุ่น และที่ปรึกษาสมัชชาสงฆ์ไทยในญี่ปุ่น ณ วัดปากน้ำญี่ปุ่น เขตนาริตะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีพระราชรัชวิเทศ รักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำญี่ปุ่น ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในญี่ปุ่น กล่าวถวายรายงานฯ ได้รับเกียรติจากนายสิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เปิดกรวยถวายราชสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และ ดร.กฤษฎา จ่างใจมนต์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท เนเจอร์กิฟ จำกัด เป็นผู้แทนสาธุชนถวายสักการะองค์ประธานพิธีฯ ในพิธีเปิดการประชุมฯ เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้โปรดเมตตาประทานสาน์สพระคติธรรม ความสำคัญตอนหนึ่งว่า “พระธรรมทูตมีหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ขจรขจายไปทั่วสากล ท่านทุกรูปต้องคำนึงไว้เสมอว่า ท่านไม่ได้มีหน้าที่เพียงเพื่อรักษาชื่อเสียงเกียรติคุณของตน หากยังมีหน้าที่รักษาชื่อเสียงเกียรติคุณของคณะสงฆ์ พระพุทธศาสนา และประชาชาติไทยในภาพรวมไว้มิให้มัวหมองอีกด้วย จึงขอทุกท่านโปรดกระทำในใจให้รอบคอบแยกคายด้วยสติปัญญาในทุกคำพูด และการกระทำ เพียรหมั่นรักษาตนให้เจริญในพระธรรมวินัย ด้วยความไม่เป็นข้าศึกสำหรับใครๆ ในโลกนี้ ตามพระพุทธานุศาสนี” เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เมตตาให้โอวาทในพิธีเปิดการประชุมฯ ความสำคัญตอนหนึ่งว่า “งานพระธรรมทูตนั้น เป็นมรดกธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโปรดประทานไว้ให้แก่พุทธบริษัท ซึ่งได้มอบหน้าที่อันสำคัญ คือการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อการเกื้อกูลแก่พหุชนเป็นอันมาก พร้อมทั้งสามารถเป็นหลักใจ และเป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนชาวไทย และสาธุชนนานาอารยประเทศ พระธรรมทูตจึงเป็นผู้สร้างสันติภาพโดยแท้ ซึ่งปรากฏในสโมธานกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก ความตอนหนึ่งว่า การสร้างสันติภาพนั้น เพราะพูดจริง ไว้ใจได้ สมานคนที่แตกกัน เพิ่มสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ พูดน่ารักยิ้มแย้มแจ่มใส พูดเป็นอรรถ พูดเป็นธรรม ไม่มีความอยากได้ ไม่มีพยาบาท มีความเห็นไม่วิปริต เพราะพระมหากรุณาธิคุณ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงวางนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างสันติภาพเช่นนี้ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา จึงไม่เคยมีสงครามเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การทำหน้าที่พระธรรมทูต จึงเป็นไปอย่างสันติภาพเสมอมา ความสำเร็จในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต ในความหมายนี้ มิใช่ลาภสักการะหรือสิ่งอื่นใด แต่คือการปฏิบัติศาสนกิจที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ตามควรแก่การปฏิบัติ เพื่อความสุขสวัสดีแก่ตนเอง และความสันติสุขแก่ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และพุทธบริษัททั้งมวล” สำหรับการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในญี่ปุ่น มีเจ้าอาวาส 21 วัดสมาชิกสมัชชาสงฆ์ไทยในญี่ปุ่น เข้าร่วมฯ ประกอบด้วย วัดปากน้ำญี่ปุ่น, วัดพระธรรมกายโตเกียว, วัดป่าธรรมกายนานาชาตโทชิหงิ, วัดพระธรรมกายกุมมะ, วัดพุทธเมโซ, วัดระฆังญี่ปุ่น, วัดพระธรรมกายโอซาก้า, วัดพระธรรมกายนางาโน่, วัดพระธรรมกายคานากาว่า, วัดพระธรรมกายอิบาราขิ, วัดพระธรรมกายโทชิหงิ, วัดพระธรรมกายไซตามะ, วัดพระธรรมกายยามานาชิ, วัดพระธรรมกายไอจิ, วัดเมตตาธรรมอิบาราขิ, วัดไทยอิบารากิ, วัดพุทธาราม สัทเทะ ไซตามะ, วัดไทยโยโกฮาม่า, วัดสุทธิวรารามโคอิวะ, วัดอรุณภาวนาราม.
- พระพรหมเสนาบดีเปิดวัดภาวนาคยองจูประเทศเกาหลีใต้
วันที่ 9 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ได้เปิดเผยว่า พระเดชพระคุณพระพรหมเสนาบดี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค7 รองประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ รูปที่1 เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เมตตาเป็นประธานการประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก The Union of Thai Dhammaduta in East Asia (UTEA) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1/2566 พิธีเปิดวัดภาวนาคยองจู และพิธีมอบตราตั้งคณะกรรมการบริหารสหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก เมื่อวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ วัดภาวนาคยองจู ประเทศเกาหลีใต้ สำหรับวัดภาวนาคยองจู เป็นหนึ่งในศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมในต่างประเทศกว่า 102 แห่งทั่วโลก ที่มุ่งมั่นขยายสันติสุขอันเกิดขึ้นจากการปฏิบัติธรรม ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันมีพระครูใบฎีกา นุกูล ธีรวโร เป็นเจ้าอาวาส ในส่วนของการประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก (UTEA) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1/2566 เป็นการเสวนาหัวข้อ “งานพระธรรมทูตในต่างประเทศกับคนรุ่นใหม่“ โดยมีผู้แทนพระธรรมทูตในทวีปต่างๆ ร่วมเสวนาได้แก่ สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา สมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสิงคโปร์ สหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป สหภาพพระธรรมทูตไทยในโอเชียเนีย สหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก สหภาพพระธรรมทูตไทยในอินโดนีเซีย-แอฟริกา สมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศญี่ปุ่น สมัชชาสงฆ์ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง องค์กรสงฆ์สยามมาเลเซีย ดำเนินการเสวนาโดยวิทยาลัยพระธรรมทูต มจร และมีนางกนิกนันต์ ล้อสีท้อง รองผู้อำนวยการ ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นางพัชธร กิตตินุกูลศิลป์ เข้าร่วมประชุมด้วย ปัจจุบันสหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก มีสมาชิก 9 วัด ประกอบด้วย วัดเหมอัศวาราม (จีน) วัดพุทธเกษร (เวียดนาม) วัดภาวนาคยองจู (เกาหลีใต้) วัดพุทธารามเกาหลี (เกาหลีใต้) วัดภาวนาโซล (เกาหลีใต้) วัดพระธรรมกายไทเป (ไต้หวัน) วัดภาวนาไถจง (ไต้หวัน) วัดพระธรรมกายเถาหยวน (ไต้หวัน) วัดพระธรรมกายมองโกเลีย (มองโกเลีย) และกำลังพิจารณาให้ความเห็นชอบวัดไทยคิทแฮวิปัสสนา (เกาหลีใต้) รวมเป็นสมาชิกสหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออกเพิ่มด้วย.
- คณะสงฆ์ไทยและผู้แทนวัดพระธรรมกายร่วมงานรำลึกวันวิสาขบูชาวันสำคัญของโลก ที่ UN นครเจนีวา
วันที่ 6 พฤษภาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ได้เปิดเผยว่า คณะสงฆ์ไทยและผู้แทนวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ได้เข้างานวิสาขบูชารำลึกนานาชาติ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมาที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ UN ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสำนักงานองค์การสหประชาชาติ UN ได้จัดงานรำลึกวันวิสาขบูชาร่วมกัน ระหว่างทูตไทยประจำสหประชาชาติและฑูตศรีลังกา มีคณะสงฆ์จากนานาชาติได้แก่ คณะผู้แทนถาวรศรีลังกาประจำสหประชาติ คณะผู้แทนไทยประจำสหประชาชาติ องค์กรสหภาพพระธรรมทูตในทวีปยุโรป (ส.ธ.ย.) นำโดย พระวิมลศาสนวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยนอร์เวย์ ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป , พระวิเทศปุญญาภรณ์ (บุญทิน ปุญญธโช ดร.) เจ้าอาวาสวัดพุทธาราม สวีเดน รองประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป , พระศรีวชิรธรรมวิเทศ ป.ธ.9,ดร.เจ้าอาวาสวัดนวมินทร์ ลียง ผช.เลขาฯสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป , พระมหาวิวัต ฌาเนสโก ป.ธ.9,ดร. เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายไรน์แลนด์ เยอรมนี เลขาฯสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป , พระครูภาวนาวิริยกิจ (วิชิต เทศศิริ) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายสวิตเซอร์แลนด์ รองปธ.เขต4 ส.ธ.ย. พร้อมด้วย คณะพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป และสาธุชน รวมถึงประเทศที่มีประชากรนับถือพระพุทธศาสนา อาทิ ภูฏาน กัมพูชา อินเดีย ญี่ปุ่น จีน ลาว มองโกเลีย เมียนมา เนปาล เวียดนาม มาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับการจัดกิจกรรมรำลึกวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีพระเดชพระคุณพระวิมลศาสนวิเทศ ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป เจ้าอาวาสวัดไทยนอร์เวย์ เป็นประธานนำคณะสงฆ์และชาวพุทธสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนาแผ่เมตตา น้อมรำลึกถึงพระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ พระกรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อธิษฐานจิตให้เกิดสันติสุขแก่ชาวโลก ทั้งนี้เมื่อ 15 ธันวาคม 2542 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 54 ได้พิจารณาระเบียบวาระที่ 174 International Recognition of the Day of Vesak ที่ประชุมฯ ได้รับรองร่างข้อมติโดยฉันทามติ เนื่องจากคณะกรรมมาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ร่วมพิจารณาและมีมติเห็นพ้องต้องกันประกาศให้วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของโลก เนื่องด้วยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ทั้งหลายในโลก จะเห็นได้จากการยกเลิกแบ่งชนชั้นวรรณะ ซึ่งเท่ากับเป็นการเลิกทาสโดยไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าอีกด้วย กล่าวคือ ทรงสอนให้ไม่ฆ่าสัตว์ ให้รู้จักช่วยเหลือสัตว์ เหตุผลสำคัญ อีกประการหนึ่งคือ พระองค์ทรงเปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณสอนโดยไม่คิดค่าตอบแทน.
- สามเณร5,000รูปจากทั่วประเทศเรียนรู้สื่อธรรมะ3มิติ ขับเคลื่อนตามโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ของคณะส
วันที่ 28 เมษายน 2566 พระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต พระอารามหลวง ประธานคณะอนุกรรมการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข (ส่วนกลาง) ฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม นำคณะองค์กรภาคีเครือข่าย “บวร” จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย ผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เข้าเยี่ยมชม “โครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย ประจำปี พ.ศ.2566” พร้อมเข้าชมนิทรรศการประกอบสื่อนวัตกรรมทางพระพุทธศาสนายุคดิจิทัล โลกเสมือนจริง จักรวาลนฤมิต และโรงภาพยนตร์สื่อธรรมะ 3 มิติ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ของโครงการฯ ภายใต้การขับเคลื่อนตามแนวปฏิบัติพันธกิจโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ของคณะสงฆ์ ในการพัฒนาพื้นที่ทางสังคม และการเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่จิตใจ และปัญญา โดยนำเสนอในหัวข้อเรื่อง “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาเอกของโลก” ที่ วัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีพระครูสังฆรักษ์รังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย พร้อมด้วย พระวิเทศธรรมาภรณ์ ประธานมูลนิธิธรรมกาย คณะสงฆ์วัดพระธรรมกาย คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย และคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ ถวายการต้อนรับ และนำเยี่ยมชม สถานที่ดำเนินโครงการฯ พร้อมศึกษาดูงานแนวทางการปลูกฝังศีลธรรมให้แก่เยาวชนตามพุทธวิธีผ่านโครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย ประจำปี พ.ศ.2566 ณ มหารัตนวิหารคด พระมหาธรรมกายเจดีย์ พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์ นอกจากนี้ พระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต พระอารามหลวง ประธานคณะอนุกรรมการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข (ส่วนกลาง) ฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม ยังได้นำคณะสงฆ์ สามเณรผู้เข้าร่วมโครงการฯ และคณะองค์กรภาคีเครือข่าย “บวร” จังหวัดปทุมธานี ที่เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานโครงการฯ สวดมนต์สรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย และปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา เพื่อรวมบุญกุศลที่เกิดขึ้น รวมใจถวายพระพรชัยมงคล และถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในโอกาสมหามงคลวันคล้ายวันประสูติ (29 เมษายน พ.ศ.2566) เป็นสมานฉันท์อีกด้วย จากนั้นได้เดินทางไปยังสถานที่จัดแสดงนิทรรศการประกอบสื่อนวัตกรรมทางพระพุทธศาสนาในยุคดิจิทัล เรื่อง “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาเอกของโลก” ซึ่งนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธรรมคำสอนที่คงอยู่คู่โลกมายาวนานกว่า 2,600 ปี ที่จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้สามเณรได้เรียนรู้วิถีการสร้างบารมีบนเส้นทางของพระมหาบุรุษ ที่ทุ่มเทเอาชีวิตเป็นเดิมพันต่อกรกับทัพพญามารด้วยศึกสงครามภายใน และชนะได้ด้วยการหยุดนิ่งสู่ทางสายกลางตรงต่อพระนิพพาน พร้อมค้นพบพระธรรมคำสอนที่เป็นดั่งแสงสว่างภายในนำใจคนทั้งโลก โดยนิทรรศการฯ แบ่งออกเป็น 7 ห้อง ประกอบด้วย ห้องกว่าจะมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบุคคลต้นแบบของจักรวาล, ห้องการสร้างบารมี 20 อสงไขยไม่เคยเปลี่ยนใจ, ห้องเจ้าชายสิทธัตถะขัตติยะผู้สมบูรณ์พร้อม, ห้องเทวทูต 4 สัญญาณเตือนสุดท้าย แก่ เจ็บ ตาย สมณะ, ห้องทรมานกายสู่เส้นทางสายกลาง, ห้องค่ำคืนแห่งการหลุดพ้นยกตนสู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ห้องขอเป็นเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ห้องฝากความประทับใจฝากหัวใจไว้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และโซนกราบสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยแว่น VR สู่โลกเหมือนจริง (Virtual Reality) ผ่านเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต (Metaverse) ต่อด้วยการรับชมภาพยนตร์สื่อธรรมะ 3 มิติ นำเสนอเนื้อหาเพื่อมุ่งปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้แก่เยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของพระพุทธศาสนา และประเทศชาติ โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่ทำให้ตนเอง และผู้อื่นเดือดร้อน นำสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามแนวทางคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับ โครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย ประจำปี พ.ศ.2566 นั้น จัดขึ้นในภาคฤดูร้อน รับสมัครเยาวชนชายทั่วประเทศ อายุ 10-18 ปี มีผู้เข้ารับการอบรมฯ รวมกว่า 5,700 คน เริ่มการอบรมฯ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2566 ถึง วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2566 โดยแบ่งสรรพื้นที่ของมหารัตนวิหารคดรอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์ เป็น 10 Site อบรมฯ หลักสูตรการอบรมฯ มุ่งเน้นปลูกฝังศีลธรรม 6 ข้อ ประกอบด้วย ให้รักและศรัทธาในพระพุทธศาสนา, รักการปฏิบัติธรรม, มีความเคารพในพระรัตนตรัย, มีความกตัญญูต่อบิดามารดา, มีสัมมาทิฏฐิ เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ผ่านกระบวนการอบรมฯ ทั้งการเรียนรู้หลักทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดทักษะ ปลูกฝังนิสัยแห่งความเป็นบัณฑิตนักปราชญ์ เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองดีของชาติ และเกิดพลังสืบสานพระพุทธศาสนาร่วมกัน นอกจากนี้ ในระหว่างการอบรมฯ ผู้ปกครองยังได้มีส่วนร่วมในการอุปถัมภ์โครงการฯ สืบสานวัฒนธรรมชาวพุทธ สืบทอดอายุของพระพุทธศาสนา ด้วยการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่สามเณร เพื่อปลูกฝังศรัทธา และยังความปลื้มปีติใจให้แก่ครอบครัวอีกด้วย.
- วัดพระธรรมกายและคณะสงฆ์10ประเทศร่วมพิธีตักบาตรพระ 3,000 รูป ฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศเวียดนาม
วันที่ 26 เมษายน 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฒิวังโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ได้เปิดเผยว่า วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ร่วมกับ คณะสงฆ์ประเทศเวียดนาม จำนวน 400 วัด ในเขตภูมิภาค Mekong Delta หรือ 13 จังหวัดภาคใต้ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จัดพิธีตักบาตรพระ 3,000 รูป พร้อมด้วยคณะสงฆ์นานาชาติ ได้แก่ 1.ไทย 2.เวียดนาม 3.กัมพูชา 4.ลาว 5.เมียนมา 6.เนปาล 7.บังกลาเทศ 8.ศรีลังกา 9.อินเดีย และ 10.อินโดนีเซีย โดยมีพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมตักบาตรในครั้งนี้นับหมื่นคน ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์เกิ่นเทอ ประเทศเวียดนาม ภาพในพิธีมี พระอาจารย์ด่าวยือ มหาเถระ รองประธานมหาสังฆนายกแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เจ้าคณะจังหวัดเกิ่นเทอ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงฆ์เขมรเถรวาทจังหวัดเกิ่นเทอ เป็นประธานสงฆ์ในพิธีตักบาตรพระ 3,000 รูป สำหรับพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามกำลังเติบโตและฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นมาใหม่ ผู้คนจึงหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนามากขึ้น ปัจจุบันมีพระภิกษุและภิกษุณีได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อศึกษาด้านพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลังจากจบการศึกษาแล้วได้นำความรู้ที่ศึกษาไปพัฒนากิจการคณะสงฆ์และพุทธศาสนาในประเทศเวียดนาม ด้าน พระครูสิทธิรัตนวิเทศ (จรินทร์ รตนวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดภาวนาโซล, ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย หัวหน้าคณะทำงานจากประเทศไทย กล่าวว่า กิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการจัดตักบาตรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูรักษา พระพุทธศาสนา กระชับความสัมพันธ์ของคณะสงฆ์เถรวาทนานาชาติ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งกันและกันภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะสงฆ์เถรวาทเวียดนาม และวัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย ซึ่งการจัดตักบาตรพระ 3,000 รูปครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานเผยแผ่ร่วมกันในโอกาสต่อไป.
- พุทธศาสนิกชน 10,000 คน ร่วมบุญพร้อมกันตักบาตรสามเณร 5,000 รูป ในวันคุ้มครองโลก
วันที่ 22 เมษายน 2566 พุทธศาสนิกชนและคณะผู้ปกครอง จำนวน 10,000 คน พร้อมใจกันมาร่วมตักบาตรฉลองสามเณรบวชใหม่ 5,000 รูป ในโครงการ “ปิดเทอม เติมธรรม” ในวันคุ้มครองโลก ที่ลานธรรมมหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บรรยากาศในพิธีตักบาตรฉลองสามเณรในโครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย “ปิดเทอม เติมธรรม” ปีพุทธศักราช 2566 มุ่งฝึกสมาธิสร้างพื้นฐานที่มั่นคงของอนาคตพุทธศาสนา มีเยาวชนจากทั่วประเทศร่วมบวชในโครงการจำนวนมาก เช้าวันนี้ต่อกับวันที่ 22 เมษายนของทุกปี เป็นวันคุ้มครองโลก ในวันนี้จึงเป็นวันที่เหล่าพุทธบริษัท 4 จากทั่วโลก อันได้แก่ พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาร่วมกันประพฤติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ซึ่งเหล่าสามเณร ทั้ง 5,000 รูป ถูกปลูกฝังความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสามัคคีในหมู่เยาวชน ให้มีจิตสาธารณะ ใฝ่สันติ และมีที่พึ่งอย่างแท้จริงในตนเอง และสร้างความตระหนักรู้ให้กับเด็กและเยาวชนไทย ในคุณค่าของประเพณีวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมชาวพุทธ และสามารถนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติตามหลักศีล 5 ไปใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างภาคภูมิ ด้านพระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย กล่าวว่า วันนี้เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ เอิร์ธเดย์ ซึ่งเป็นวันที่ชาวโลกทั้งหลายร่วมรณรงค์ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษ ทางพระพุทธศาสนาเรามีธรรมคุ้มครองโลก หรือ โลกบาลธรรม คือ หิริโอตตัปปะ ความละอายชั่วและกลัวบาป หมายถึงละอายในการทำความไม่ดี และเกรงกลัวถึงสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้น ในทางพระพุทธศาสนาต้องทำดีละชั่ว ทำใจให้ผ่องใส ตามที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ถือเป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ทำจิตให้บริสุทธิ์ ให้อภัยกัน รักเมตตา และสามัคคีกัน ใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างไม่เบียดเบียนกัน ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและจำเป็น สำหรับที่วัดพระธรรมกายได้มีกิจกรรมตักบาตรสามเณร 5,000 รูป เป็นการบวชภาคฤดูร้อน “ปิดเทอม เติมธรรม” เป็นการฝึกสละ อุทิศตน ฝึกให้ทาน ซึ่งการให้ทานเป็นการเกื้อกูลต่อตนเองที่ฝึกสละความตระหนี่ และเป็นการทำนุบำรุงพระศาสนา ให้โอกาสเยาวชนไทยที่บวชสามเณาทั้ง 5,000 รูป ได้มาปฏิบัติตามธรรมะขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เบียดเบียนกัน ไม่เห็นแก่ตัว ก็เชื่อว่ารักษาทั้งตนเอง รักษาทั้งสิ่งแวดล้อม เกื้อกูลกันด้วยความดี.
- สงกรานต์นี้ชวนสรงน้ำพระ 9 วัด ที่ฟิวเจอร์รังสิต
ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์คและสเปลล์ ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบรี จังหวัดปทุมธานี จัดเต็มความสุขแบบชื่นฉ่ำ “ฟิวเจอร์พาร์ค-สเปลล์” ส่งกิจกรรมสุดฟิน ผ่านแคมเปญ “สาดสาด Festival 2023” ชวนไหว้พระ 9 วัดดัง เสริมความเป็นสิริมงคลในเทศกาลปีใหม่ไทย สรงน้ำพระพุทธรูป 9 วัด พร้อมบูธอาหารอิ่มอร่อยกับเครื่องดื่มที่ยกขบวนนำมาจัดจำหน่ายแบบจัดเต็มทุกร้าน เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 - 16 เมษายน 2566 ณ ชั้นจี Zpotlight และ Zappening โดยศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์คและสเปลล์ ได้จัดเตรียมสรงน้ำพระพุทธรูปจาก 9 วัดดัง ประกอบด้วย 1.พระศรีอริยเมตไตรย (หลวงพ่อโต) วัดอินทรวรวิหาร เพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน, 2.พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์ดุจรัตนตรัย, 3.พระพุทธไสยาสน์ (พระนอนวัดโพธิ์) วัดโพธิ์ เพื่อให้ชีวิตมีความร่มเย็นเป็นสุข, 4.พระพุทธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เพื่อชีวิตและหน้าที่การงานเจริญรุ่งโรจน์, 5.พระประธานยิ้มรับฟ้า วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เพื่อให้มีชื่อเสียงโด่งดังดุจเสียงระฆัง 6. พระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เพื่อป้องกันศัตรูที่คิดร้ายจะแพ้พ่ายไปเอง 7. พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวอย่างยิ่ง 8. พระพุทธไตรรัตนนายก วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เมื่อได้สักการะแล้วจะเดินทางปลอดภัยและมีมิตรไมตรีที่ดี และ 9. พระพุทธชินราช วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร พุทธคุณเป็นเลิศปรากฏทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด อำนาจบารมี ครบเครื่องครบครัน คุณณัฐรินทร์ พยุงวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการสายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์คและสเปลล์ กล่าวว่า ทางศูนย์การค้าฯ พร้อมมอบความสุขแบบจัดเต็ม สงกรานต์ปีนี้ ต้องห้ามพลาด กับกิจกรรมรับความฟินแบบฉ่ำๆ ในแคมเปญ “สาดสาด Festival 2023” ภายใต้ concept “สาดความสุขให้สนุกสาดสาด” ยกทัพศิลปินและดีเจชื่อดังมาร่วมสร้างความสุขสนุกแบบสุดเหวี่ยง โดยกิจกรรมเริ่มตั้งแต่วันที่ 13-16 เมษายน 2566 ณ ชั้นจี Zpotlight และ Zappening ซึ่งมีมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง วันที่ 13 เมษายน 2566 พบกับ Indigo , วันที่ 14 เมษายน 2566 พบกับ Yes Indeed พร้อมด้วยศิลปินจาก The Star idol บูม สหรัฐ และภูมิ พงศ์รชตะ , วันที่ 15 เมษายน 2566 พบกับ 4EVE , วันที่ 16 เมษายน 2566 พบกับ Safeplanet นอกจากนี้ยังมีดีเจมามอบความสุขแบบสุดเหวี่ยงกับผู้ที่มาร่วมงานเตรียมร่างกายมาให้พร้อมสนุกสนานเล่นน้ำชุมฉ่ำกับอุโมงค์พ่นน้ำตลอดทั้งงาน สำหรับสมาชิก FUTURE PARK MEMBER ใช้คะแนนเพียง 200 คะแนนแลกรับปืนฉีดน้ำมูลค่า 200 บาท ได้ทันที! และพิเศษยิ่งขึ้นกับริชแบรนด์เข้างาน สำหรับสมาชิกเท่านั้น ภายในงาน 13-16 เมษายนนี้ ห้ามพลาดมาดับร้อนกับแคมเปญ “สาดสาด Festival 2023” ไม่ว่าจะมาคนเดียว มาเป็นคู่ หรือจะมากันทั้งครอบครัว รับรองความสนุกจัดเต็มอย่างแน่นอน สำหรับผู้สนใจหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค โทรศัพท์ 02-958-0011 ต่อ 1036, 1233 และ https://www.futurepark.co.th
- เยาวชนจากทั่วประเทศร่วมบวชเณร 5,000 รูป
วันที่ 8 เมษายน 2566 ที่สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เด็กนักเรียนและเยาวชนชาวพุทธจากทั่วประเทศร่วมพิธีบรรพชาสามเณร 5,000 รูป ในโครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย “ปิดเทอม เติมธรรม” ปีพุทธศักราช 2566 มุ่งฝึกสมาธิสร้างพื้นฐานที่มั่นคงของอนาคตพุทธศาสนา บรรยากาศพิธีเริ่มในภาคเช้า นาคธรรมทายาท คณะเจ้าภาพ ผู้ปกครอง เวียนประทักษิณ รอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ ต่อด้วย นาคธรรมทายาทประกอบพิธีวันทาเจดีย์ ภาคสาย เป็นพิธีขอบรรพชา เริ่มด้วยผู้แทนนาคธรรมทายาทถวายพานพุ่มแด่ พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ เจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นกล่าวคำขอบรรพชา ต่อด้วยพิธีคล้องอังสะ โดยได้รับความเมตตาจากพระเถรานุเถระร่วมประกอบพิธี ภาคบ่ายเป็นพิธีขอสรณคมน์และศีล พิธีขอนิสัย สำหรับโครงการบรรพชาสามเณรครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสามัคคีในหมู่เยาวชน ให้มีจิตสาธารณะ ใฝ่สันติ และมีที่พึ่งอย่างแท้จริงในตนเอง และสร้างความตระหนักรู้ให้กับเด็กและเยาวชนไทย ในคุณค่าของประเพณีวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมชาวพุทธ และสามารถนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติตามหลักศีล 5 ไปใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างภาคภูมิ ด้านพระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย กล่าวว่า เมื่อบุตรหลานเข้าสู่วัยรุ่น บุตรหลานของท่าน ต้องปรับตัวทั้งด้านกายภาพและจิตใจ รวมไปถึงการมีภาระและความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตทางการศึกษา ซึ่งถึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญ สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิดความกังวลทั้งตัวบุตรหลานเอง และรวมไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองด้วย แต่หากบุตรหลานได้รับความรู้ในการพัฒนาตนเองได้อย่างถูกต้อง การเตรียมตัวสู่อนาคตที่ดี ย่อมบังเกิดขึ้นต่อบุตรหลานอันเป็นที่รักอย่างแน่นอน โครงการบรรพชาสามเณรครั้งนี้มีเป้าหมาย เมื่อเยาวชนเข้ารับการอบรมแล้วได้ฝึกสมาธิ มีความรักและศรัทธาในพระพุทธศาสนา รักการปฏิบัติธรรม มีความเคารพในพระรัตนตรัย มีความกตัญญูต่อบิดามารดา มีสัมมาทิฏฐิ เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เรียนรู้ ด้วยบรรยากาศ “สุข สนุก อบอุ่น ใฝ่ธรรม” และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย “ปิดเทอม เติมธรรม” ปี พ.ศ.2566 สำหรับนักเรียนอายุ 10 – 13 ปี ช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน จัดขึ้นโดยความร่วมมือจาก ชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ, ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมทั่วประเทศ, องค์การพุทธโลก (World Alliance of Buddhists - WAB), องค์กรอาสาสมัครเพื่อสันติภาพ (V-PEACE), หน่วยงานทางการศึกษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการ, โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการ, ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน, เครือข่ายคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก, วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มี.ค. - 7 พ.ค. 2566 ณ ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมประจำจังหวัดทั่วประเทศ และวัดพระธรรมกาย ที่ผ่านมามีสื่อมวลชนจากต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาทำข่าวเกี่ยวกับการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เป็นจำนวนมากเช่นสื่อจาก CNN จากอเมริกา , APจากอเมริกา , Reutersจากประเทศอังกฤษ , สื่อจากฝรั่งเศส สื่อจากเยอรมนี หรือสื่อทางเอเชีย เช่น NHK จากญี่ปุ่น , The Straits Times ของสิงคโปร์ และประเทศอื่นทางยุโรป ที่ให้ความสนใจในการบวชสามเณรของประเทศไทย นอกจากสื่อต่างประเทศให้ความสนใจแล้ว พี่น้องชาวพุทธในนิกายมหายาน วรัรยาน ก็เริ่มนำประเพณีการบวชระยะสั้น หรือถือศีลระยะสั้นเป็นนักบวช นำไปทำกิจกรรมในประเทศต่าง ๆ เช่นประเทศเวียดนาม ประเทศอินเดีย ประเทศบังกลาเทศ และประเทศเนปาล ในส่วนของปลายปีนี้ที่ประเทศอินโดนิเซียจะมีการบวชสามเณรกว่า 1,000 รูปที่บรมพุทโธเช่นเดียวกัน ส่วน คุณสตีเฟน บอยทาโน้ (Stephen Boitano) ผู้สื่อข่าวจากประเทศเยอรมนี กล่าวว่า ผ่านมาตนเองได้นำเสนอข่าววัดไทยที่ต่างประเทศน้อยมาก แต่ที่วัดพระธรรมกายเคยเข้ามาทำข่าวกว่า 5 ครั้งแล้ว สำหรับพิธีบรรพชาสามเณร 5,000 รูป ในโครงการบรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทยที่วัดพระธรรมกายเป็นพิธีที่สวยงาม โดยเฉพาะภาพมุมสูงจากโดน ซึ่งวัดพระธรรมกายได้สร้างคุณค่าและมอบสิ่งดี ๆ ให้กับโลกใบนี้โดยเฉพาะการสอนการฝึกสมาธิเป็นสิ่งที่ดีมาก น่าสนใจ และนำไปใช้ในการประคองสติเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต.